- อาจารย์จ๋าให้วาดภาพลงกระดาษที่กระดาษที่พับเป็น 8 ช่อง โดยให้เราวาดภาพตามจินตนาการและให้สังเกตุว่าภาพที่เราวาดนั้นเคลื่อนไหวได้อย่างไร ข้าพเจ้าวาดรูปต้นไม้ดังภาพที่ปรากฏนี้
ภาพวาดที่ข้าพเจ้าวาด
เมื่อเราทำเสร็จให้เปิดหน้าแรกไปยังหน้าสุดท้ายอย่างรวดเร็ว เราเรียกวิธีการนี้ว่าภาพเคลื่อนไหวแบบสต๊อปชั่น
หมายเหตุ
อาจารย์จ๋าให้การบ้านไปศึกษาว่าทำไมเวลาเราเคลื่อนไหวอะไรเร็วๆภาพถึงเคลื่อนไหวหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ
ค้นคว้าเพิ่มเติม
สต๊อปโมชั่น
หมายถึง เป็นแอนิเมชันที่อะนิเมะเตอร์ต้องสร้างส่วน
ประกอบต่างๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล
และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิดๆ
แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรมๆ
·
คลย์แอนิเมชัน (Clay animation –เรียกย่อๆ
ว่า เคลย์เมชั่น / claymation)
คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง
โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้
·
คัตเอาต์แแอนิเมชัน (Cutout animation)
สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม
แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
·
กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา
เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่างๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้)
ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้
·
โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)
คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ
แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและแบ็คกราวด์เหมือนจริง
·
แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ
อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว
·
พิกซิลเลชั่น (Pixilation)
เป็นสต็อปโมชั่นที่ใช้คนจริงๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม
เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง
หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ
สรุปองค์ความรู้เป็นได้ดังนี้
ประโยชน์ของอากาศบริสุทธิ์
สมองจะทำงานได้ดีหากได้รับอากาศบริสุทธิ์ จากการวิจัยพบว่าเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้หากได้รับอากาศบริสุทธิ์จะช่วยให้มีพัฒนาการดีขึ้น
ส่วนผู้ที่รู้สึกเหนื่อยล้าและไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงานหรือการเรียน
อาจเป็นเพราะท่านได้รับอากาศบริสุทธิ์ไม่เพียงพอก็ได้ การหายใจลึกๆ
ช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้ เช่น วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ ฯลฯ
เพราะอากาศบริสุทธิ์นั้นจะช่วยล้างสิ่งสกปรกที่มีอยู่ในปอดให้ออกมา
อากาศเสียอาจทำให้ท่านมีอาการปวดศรีษะ หงุดหงิด วิตกกังวล และเหนื่อยล้าง่าย
ประโยชน์ของการสูดลมหายใจลึกๆ
·
ช่วยในการย่อยอาหาร และการไหลเวียนของเลือด
·
ช่วยป้องกันการติดเชื้อในปอด
·
ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และแผลในกระเพาะอาหาร
·
ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ
·
ลดอาการปวดตามข้อ
·
ช่วยให้มีอารมณ์ดีขึ้น
·
ช่วยให้มีความกระฉับกระเฉง ว่องไว
·
จะรับอากาศบริสุทธิ์ให้เพียงพอได้อย่างไร
คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับประโยชน์จากการหายใจอย่างครบถ้วน
เป็นเพราะพวกเขาไม่ได้สูดหายใจเข้าลึกๆ ลองสูดหายใจให้เต็มปอด
แล้วท่านจะรู้สึกว่าปอดได้รับอากาศมากขึ้นกว่าเดิม
ต่อไปนี้เป็นวิธีการออกกำลังง่ายๆ
ที่จะช่วยให้ท่านได้รับออกซิเจนมากขึ้น ยกแขนสองข้างขึ้นเหนือศรีษะ
สูดลมหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ สูดเข้าไปในช่องท้องให้ลึกที่สุดเท่าที่ท่านจะทำได้
หลังจากนั้นค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออกทางปากจนรู้สึกว่าอากาศออกจากท้องจนหมด
ดันอากาศออกให้หมดด้วยการไอออกมาครั้งหนึ่ง ทำขั้นตอนเหล่านี้ประมาณ 5-10 ครั้ง ทุกๆ วัน
เพื่อท่านจะได้รับประโยชน์จากอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มที่
การยืนและการนั่งแบบตัวตรงช่วยให้หายใจได้ลึกขึ้นเช่นกัน
ไม่ควรนำอะไรมาบีบรัดบริเวณช่องท้องเพราะจะทำให้ท่านหายใจได้ไม่ลึก วิธีสนุกๆ
อีกวิธีที่จะช่วยให้ท่านได้รับออกซิเจนมากขึ้นคือการร้องเพลง
วิธีที่ท่านจะได้รับออกซิเจนดีที่สุดคือการออกกำลังกาย
โดยปกติแล้ว ขณะที่คนเราพักผ่อน ใน 1 นาทีจะหายใจเอาออกซิเจนแค่ 4 ลิตร หรือ 1 แกลลอนเท่านั้น แต่เมื่อออกกำลังกาย
ปอดจะรับและถ่ายเทออกซิเจนมากถึง 52 ลิตร หรือ 13 แกลลอนใน 1 นาที
การออกกำลังกายในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์จะช่วยให้มีสุขภาพดี สมองปลอดโปร่ง
และมีทัศนคติที่ดี
ท่านคงรู้สึกเครียดและประหม่าเวลาที่ต้องพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก
การหายใจลึกๆ จะช่วยให้ท่านผ่อนคลายได้ หากกำลังโกรธหรือไม่พอใจกับบางสิ่งบางอย่าง
ลองสูดหายใจลึกๆ หลายๆ ครั้งแทนที่จะระเบิดอารมณ์ออกมา แล้วท่านจะรู้สึกดีขึ้น
อย่าลืมว่าอากาศเป็นของขวัญพิเศษ จงใช้มันให้เกิดประโยชน์
แต่ละวันคนเราหายใจรับอากาศในปริมาณมาก
วันหนึ่งๆ เราหายใจประมาณ 20,000 ครั้ง
หัวใจเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง
และพร้อมกันนั้นออกซิเจนก็ถูกแจกจ่ายไปทั่วร่างกายผ่านไปทางเส้นเลือดที่ยาวถึง 95,000
กิโลเมตร เป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดีซึ่งปกติเคลื่อนไหวราววันละ
2,000 ครั้ง อีกทั้งช่วยให้เซลล์สมองประมาณ 14 ล้านเซลล์ทำงานต่อเนื่องตลอดเวลาด้วยเช่นกัน
เมื่อร่างกายทำงานอย่างหนักเช่นนี้จึงจำเป็นต้องพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ภาพการเรียนการสอน
ภาพการเรียนการสอน
ข้าพเจ้าและเพื่อนในห้องออกไปนำเสนอ ของเล่นวิทยาศาสตร์
สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้เป็น My Mapping
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น