by zalim-code.com

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

^____^








ความรู้ที่ได้รับจากวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. ได้รับความรู้ในเรื่องความหมาย ความสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. มีความเข้าใจในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น
3. ได้รับความรู้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยในอนาคตต่อไป
4. ได้มีความสามารถ ผึกฝนทักษะความรู้ของตนเองในการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
5. ได้รับความรู้จากเพื่อนที่ได้ทำการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์เป็นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

สุดท้ายขอขอบคุณอาจารย์จินตนา  สุขสำราญ ที่ได้มอบความรู้ ความเข้าใจและทักษะการนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัยในวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้แก่ข้าพเจ้า


น.ส. พรทิพย์    สุมาลัย
เซกเรียน วันจันทร์เช้า 101
เลขที่  46 





ฝึกคิดสร้างสรรค์ ด้วยกิจกรรมศิลปะ อ.เรณู ทองทา

สาระน่ารู้ >>> Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : ฝึกคิดสร้างสรรค์ ด้วยกิจกรรมศิลปะ อ.เรณู ทองทา



กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กเพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้ความงาม ให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์หรือ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้าง สรรค์ และจินตนาการโดยใช้ศิลปะสำหรับเด็กหลากหลายแบบ เช่น การเขียนภาพ การปั้น การฉีกปะ การตัดปะ การพิมพ์ภาพ การปั้นวิทยาการทางด้านสมองทำให้เราทราบได้ว่า คนเรามีศักยภาพทางการคิด เกิดจากสมองทั้ง 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวาของเราทำงานและพัฒนาการคิดตัดสินใจ และคิดสร้างสรรค์ สมองทั้งสองซีกจะทำงานเชื่อมโยงไปพร้อมกันในทุกกิจกรรมการคิด การพัฒนาสมองของเด็กจึงจัดผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้สมองทั้งสองซีกทำงานสมดุล กิจกรรมสร้างสรรค์จึงเป็นกิจกรรมที่จะช่วยเชื่อมโยงการทำงานของสมองและพัฒนาจินตนาการซึ่งสัมพันธ์กับประสบการณ์ของเด็ก เด็กจะแสดงออกมาเป็นภาพ รูปร่าง และรูปทรง จึงเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ฝึกสมองจากกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีหลากหลายแบบ เป็นการให้เด็กกระทำ และสังเกตซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้เด็ก เด็กจะเกิดความสามารถในการพัฒนาความคิดรวบยอดและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ได้ต่อไป อีกทั้ง กิจกรรมสร้างสรรค์ยังสามารถพัฒนาจิตเด็กได้อย่างมีคุณภาพ คือให้เป็นผู้มีความอดทนเพราะต้องสร้างสรรค์ผลงานของตนจนสำเร็จ จะสร้างความภูมิใจต่อตนเองหรือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองได้ เนื่องจากการเปิดโอกาสให้เด็กพึ่งตนเองในการทำสิ่งต่างๆ ตามความสามารถ เป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงความมีคุณค่าในตนเอง เด็กจะเป็นผู้มีความมั่นใจและกล้าที่จะผจญปัญหา ในขณะเดียวกัน เด็กจะได้รับการพัฒนาทางสังคม เพราะเด็กจะได้มีโอกาสทำงานร่วมกับเพื่อน เด็กจึงเรียนรู้การแก้ปัญหาการทำงาน รู้จักปรับปรุงหรือเปลี่ยน แปลงตนเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันด้วยดีในสังคม เมื่อเด็กสร้างผลงานสิ้นสุดแล้ว การชักชวนให้เด็กชื่นชมผลงานของตนเอง เป็นการปลูกจิตสำนึกเด็กให้เห็นคุณค่าของศิลปะที่ตนสร้างขึ้น และฝึกฝนการแสดงความชื่นชมในความสวยงาม สร้างความเพลิดเพลินและความสุขจากสิ่งใกล้ๆ ตัวเด็กเอง การร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีอื่นๆ ที่เด็กสามารถจะคิดสร้างสรรค์ได้และมีความเหมาะสมตามวัยของเด็ก
การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กำหนดสาระการเรียนรู้ไว้ ซึ่งประกอบเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ ทั้งสองส่วนใช้เป็นสื่อกลางในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยครอบคลุมพัฒนาการเด็ก 4 ด้านดังนี้
1.               ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก จากการเขียนภาพและการเล่นสี เช่น กิจกรรมเขียนภาพด้วยสีเทียน สีน้ำ เป่าสี ทับสี ปั้นดินเหนียว ดินน้ำมัน งานประดิษฐ์จากเศษวัสดุ เป็นต้น
2.               ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ เป็นประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ เด็กมีโอกาสชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม เช่น กิจกรรมเขียนภาพตามความคิดสร้างสรรค์ แสดงความคิดเห็นต่อผลงานศิลปะ ฯลฯ
3.               ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เป็นประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้ทางสังคม ด้วยการเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น มีการวางแผน ตัดสินใจเลือกและลงมือปฏิบัติ ให้เด็กมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจ ความต้องการของตนเองและผู้อื่น เช่น การเลือกทำกิจกรรมศิลปะตามความสนใจ การฟังความคิดเห็นของเด็กคนอื่น การรู้จักรอคอยที่จะใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น การรู้จักแบ่งปันวัสดุ ของใช้ เป็นต้น
4.               ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นประสบการณ์ที่ส่งเสริมความคิดของเด็ก เกี่ยวกับการรับรู้ และการแสดงความรู้ผ่านสื่อ วัสดุ และผลงาน เช่น การวาดภาพ ระบายสี ปั้นดิน ประดิษฐ์ ส่งเสริมด้านการใช้ภาษาและด้านการเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก และการสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด เช่น การให้เด็กเขียนภาพนิทาน วาดภาพด้วยสีเทียน สีน้ำ เป็นต้น




ลงมือปฏิบัติสำหรับระดับปฐมวัย : เริ่มต้นด้วยสุขภาพที่ดี - Early Years In Action : A Healthy Start

สาระน่ารู้ >>>
Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : ลงมือปฏิบัติสำหรับระดับปฐมวัย : เริ่มต้นด้วยสุขภาพที่ดี - Early Years In Action : A Healthy Start



ปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องยอดฮิตติดปากของคนไทยทุกวันนี้ จะเห็นได้จากการทำบุญไหว้พระ คำว่า "ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง" กลายเป็นคำอธิษฐานมาแรงแซงหน้าในยุคปัจจุบัน จึงเป็นเหตุผลให้ผู้คนมากมายในสังคมมองหาหนทางรักษาสุขภาพของตัวเอง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยอันนำมาซึ่งความเสียหาย และปัญหาต่างๆ ที่ตามมามากมาย..

10 เคล็ดลับเพื่อสุขภาพดี  มีดังนี้  

     1. แอปเปิลวันละผล.. คำพูดที่ว่า an apple a day, keeps doctor away เป็นจริงเสมอ จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยลอนดอนพบว่า การรับประทานแอปเปิลวันละผลจะทำให้การทำงานของปอดดีขึ้น จากแอนติออกซิเดนต์และสารในแอปเปิลที่เรียกว่า quartering ซึ่งช่วยทำให้ปอดแข็งแรงและทำงานได้อย่างเป็นระบบ

     2. หายใจลึกๆ.. เราควรหายใจให้ลึกเพื่อขยายการทำงานของปอด และทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ แต่ทุกวันนี้เรามักหายใจสั้นๆ เนื่องจากการทำงานในที่อับทึบ หรือเพราะความไม่รู้ เพราะฉะนั้นในแต่ละวันลองหายใจลึกๆ ให้ได้อย่างน้อยวันละ 10 ครั้ง และต้องเป็นแบบหายใจเข้า ท้องป่อง หายใจออก ท้องแฟบด้วย จึงจะเรียกว่าถูกวิธี

     3. หลีกเลี่ยงการนำผักเข้าไมโครเวฟ.. จากการวิจัยของสเปนพบว่า การทำผักให้สุกในไมโครเวฟจะทำให้สารอาหารหายไปได้ถึง 97 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นทางเลือกที่เราควรจะเลือกคือ การรับประทานผักสดๆ หลีกเลี่ยงผักแบบไมโครเวฟ แม้อาหารกล่องอาจให้รสอร่อย แต่จงรู้ไว้ว่าสารอาหารนั้นไม่มีเหลือแล้ว

     4. ขยับตัวเสมอ.. สังเกตไหม คนที่ขยับตัวอยู่เสมอจะมีระบบย่อยอาหารที่ดีกว่าคนที่เอาแต่นั่ง วิธีนี้ช่วยป้องกันอาการท้องผูก รวมไปถึงโรคกระดูกพรุนด้วย
5. ประโยชน์ของน้ำมะพร้าว.. น้ำมะพร้าวเป็นน้ำผลไม้ที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง มีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการครบถ้วน เช่น โพแทสเซียม เหล็ก โซเดียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส กรดอะมิโน และวิตามินบี แถมยังมีน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และมีประโยชน์ในการขับสารพิษและชำระล้างร่างกาย เป็นต้น

     6. เมื่อเป็นไข้ไม่ควรกินฝรั่ง.. ในฝรั่งมีแร่โพแทสเซียมสูง เมื่อเวลาเป็นไข้ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น การรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงจะส่งผลต่อการเกิดอาการชักได้

     7. กินส้มช่วยแก้อาการเบื่อหน่ายได้.. การรับประทานส้มโดยปอกเปลือกเอง จะมีกลิ่นส้มที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และวิตามินซีที่ร่างกายได้รับในจำนวนที่เพียงพอ ช่วยให้สมองหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้คลายความเครียดได้ดีออกมาด้วย

     8. การกินอาหารมื้อเช้าช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม.. อาหารมื้อเช้าช่วยต่อต้านการแข็งตัวของเลือด เลือดตอนเช้าจะแข็งตัวง่ายกว่าปกติ จึงมีโอกาสที่หลอดเลือดจะอุดตันมากขึ้น สารอาหารไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง สมองจึงค่อยๆ เสื่อม
 9. ดาร์กช็อกโกแลตต่อต้านอนุมูลอิสระ.. รู้ไหมว่า ช็อกโกแลตชนิดอื่นๆ แทบไม่มีส่วนผสมของโกโก้เลย มีเพียงดาร์กช็อกโกแลตเท่านั้นที่เป็นช็อกโกแลตแท้ๆ และยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะมีสารเฟลวานอยด์ที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนระบบหลอดเลือด โดยปริมาณที่เหมาะสมคือ ในแต่ละวันให้รับประทานช็อกโกแลตดำประมาณครึ่งออนซ์

     10. สมการความสุข y=b+c.. y คือ ความสุข b คือ ความรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะมีความสุข อาทิ มีความเข้าใจชีวิตว่าเป็นอย่างไร รู้จักองค์ประกอบของชีวิต เป็นต้น c คือ ความอยากในชีวิต หากมีความอยากมากกว่าความรู้ที่จะทำให้ชีวิตมีความสุข คนคนนั้นก็มีความสุขที่ติดลบ






สรุปองค์ความรู้จากบทความ ^^

บทความ >>
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย



บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ 

หลักการและความสำคัญ 
    วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน 
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย 
อย่างไรก็ตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน สสวท.จึงร่วมกับกลุ่มนักวิชาการ พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้ 
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 
ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายให้ครูผู้สอนได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยและเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับต่อไป 
เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ 
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ 
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้ 
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ 
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย 
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย 
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ 
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม 
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง 
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์ 
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้ 
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก 
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม 
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ 
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด 
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว 
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 
การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้ 
1.เราต้องการค้นหาอะไร 
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้ 
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง 
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง 
ผลที่ได้รับจากการศึกษาเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยคือได้ทราบ 
หลักการและความสำคัญ เป้าหมาย บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้นำแนวทางนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป 
เอกสารอ้างอิง  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546 



สรุปองค์ความรู้จากงานวิจัย ^^

วิจัย >>ความสามารถในการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

 การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถของเด็กในด้านต่างๆ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับเด็กหรือการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก
        การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ตามปกติในกิจวัตรประจำวัน ครูที่ประเมินอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบจะสามารถใช้หลักสูตรและจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก
หลักการประเมินพัฒนาการของเด็ก
หลักการประเมินพัฒนาการของเด็กตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้

1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
3. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจกรรมประจำวัน
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเลือกใช้เครื่องมือ และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆ ด้าน ไม่ควรใช้การทดสอบ
แนวทางการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริง 
การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริงมีแนวทางดังต่อไปนี้

1. ใช้เครื่องมือประเมินที่เหมาะสมกับพัฒนาการและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย กล่าวคือ ครูต้องศึกษาพัฒนาการทุกด้านของเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อกำหนดตัวบ่งชี้ในเครื่องมือการประเมิน การที่ครูรู้พัฒนาการและเข้าใจจุดหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนและเหมาะสมจะทำให้ครูสามารถประเมินพัฒนาการและผลการเรียนรู้อย่างแท้จริงได้ 

2. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินที่เหมาะสมคือ การสังเกตหรือการสนทนากับเด็ก แล้วบันทึกอย่างเป็นระบบ วิธีการบันทึกอาจใช้วิธีการสำรวจรายการ การจดบันทึกพฤติกรรม มาตราส่วนประเมินค่า อาจใช้วิธีการบันทึกวีดิทัศน์ บันทึกเสียง เก็บตัวอย่างงาน หรือใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ทั้งนี้ ครูควรเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือในแต่ละประเภท และเลือกใช้เครื่องการประเมินที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถสะท้อนการเรียนรู้ของเด็กอย่างแท้จริง

3. บูรณาการการสอนกับการประเมิน การประเมินถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ การประเมินอย่างต่อเนื่องทำให้ครูทราบพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เข้าใจเด็ก และรู้ว่าจะพัฒนาเด็กอย่างไรต่อไป งานที่สำคัญของครูในส่วนนี้ คือ ครูต้องทบทวนว่าจะประเมินพัฒนาการตามรายการใด เลือกใช้เครื่องมือประเมินชนิดใด ประเมินในช่วงเวลาใดในกิจกรรมประจำวันที่จัดขึ้น การวางแผนการประเมินที่เหมาะสมและยืดหยุ่นได้จะช่วยให้ครูสามารถจัดประสบการณ์โดยทำการประเมินควบคู่กันไปได้อย่างราบรื่น

4. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก ในการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ ครูควรบันทึกสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ เพื่อเป็นการประเมินความก้าวหน้าของเด็ก ไม่ควรมุ่งสังเกตสิ่งที่เด็กยังไม่สามารถทำได้ การทราบสิ่งที่เด็กทำได้จะช่วยให้ครูสามารถแนะนำ สนับสนุนให้เด็กก้าวไปสู่พัฒนาการในขั้นที่สูงขึ้นได้ การเน้นที่ความก้าวหน้าของเด็กนี้ถือเป็นการวินิจฉัยและช่วยแก้ปัญหาให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี

5. ให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลผลิต ขณะที่เด็กร่วมกิจกรรมครูควรให้ความสนใจกับกระบวนการในการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ขณะที่เด็กกำลังลงชื่อมาโรงเรียน เมื่อครูสังเกตกระบวนการทำงานของเด็ก จะพบว่าเด็กบางคนใช้วิธีคัดลอกชื่อของตนโดยมองจากชื่อที่ปักที่เสื้อ ทำให้ผลงานการเขียนมีลักษณะกลับหัว บางคนอาจเขียนได้อย่างคล่องแคล่วจากความจำของตนเองโดยที่ผลผลิตมีลักษณะใกล้เคียงกับคนที่เขียนโดยการคัดลอกจากแบบที่ครูเตรียมไว้ หากไม่สังเกตกระบวนการย่อมทำให้ครูไม่สามารถให้ความช่วยเหลือเด็กได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามครูควรให้ความสนใจและควรตรวจสอบทั้งกระบวนการและผลผลิตควบคู่กันไป

6. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย ครูจำเป็นต้องประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กจากบริบทที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่ตรงตามสภาพจริงของเด็ก การด่วนสรุปจากบริบทใดบริบทหนึ่งอาจทำให้ไม่ได้ผลการประเมินที่แท้จริง เนื่องจากเด็กอาจจะทำกิจกรรมในบริบทหนึ่งได้ดีกว่าอีกบริบทก็ได้

7. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ครูต้องเฝ้าสังเกตเด็กแต่ละคน เพื่อให้รู้จักเด็กเป็นรายบุคคล การประเมินเป็นรายบุคคลนอกจากจะทำให้ครูทราบความก้าวหน้าของเด็กแล้ว ยังช่วยให้ครูทราบความสนใจ ทัศนคติ ความคิด ฯลฯ เกี่ยวกับเด็ก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการช่วยเหลือสนับสนุนเด็กได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

8. ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้คิดไตร่ตรองเพื่อประเมินความก้าวหน้าของตนเอง การที่เด็กมีส่วนร่วมในการติดตามความก้าวหน้าของตนเอง จะช่วยให้เด็กภูมิใจ และเกิดความต้องการที่จะพัฒนาตนเองต่อไป โดยครูอาจนำแฟ้มสะสมงานของเด็กมาใช้ในการให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง


วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์สุดท้ายในการเรียนการสอน

ทำ Cooking  ต้มจืด




ต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ  เมนูแสนง่ายที่ใครๆก็ทำได้ค่ะ  ต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ ทำได้ในเวลาอันรวดเร็วและได้คุณค่าทางอาหารแบบครบถ้วนค่ะ ส่วนผสมหาได้ง่ายในตู้เย็น เรามาเตรียมกันเลยค่ะ
ส่วนผสมเมนูต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ
1.             หมูบด
2.             เต้าหู้ไข่แบบหลอด
3.             น้ำซุป
4.             รากผักชี
5.             กระเทียม
6.             พริกไทยเม็ด
7.             ต้มหอม
8.             คื่นฉ่าย
9.             ซอสปรุงรส
10.      ซีอิ้วขาว
11.      น้ำตาลทราย

วิธีทำต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ
เตรียมเครื่องหมักหมูค่ะ ก็จะมีกระเทียม พริกไทยเม็ด รากผักชี โขลกละเอียดให้เข้ากันค่ะ  แล้วนำไปหมักกับหมูบดที่เราเตรียมไว้ค่ะ เติมซอสปรุงรส ซีอิ้วขาว และน้ำตาลทราย หมักหมูไว้ซักพัก

หั่นคื่นช่าย ต้นหอม และเต้าหู้ไข่เตรียมไว้ค่ะ

ตั้งน้ำซุปต้มจืดในหม้อไว้ให้เดือด จากนั้นปั้นหมูบดที่เราหมักไว้ให้เป็นก้อน  นำลงไปต้มในหม้อซุป รอจนหมูสุก

ใส่เต้าหู้ไข่ที่เราเตรียมไว้ลงไป รอให้น้ำซุปเดือดอีกครั้ง ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว น้ำตาลทราย ให้ได้รสตามชอบ นำคื่นช่ายและต้นหอมใส่ลงหม้อ แล้วปิดไฟ

ตักต้มจืดใส่ชามเสิร์ฟร้อนๆ เท่านี้เป็นอันเสร็จค่ะ สำหรับเมนูต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับค่ะ



วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13 ( 16 กันยายน 2556 )


  • วันนี้อาจารย์เบียร์มาสอนแทนอาจารย์จ๋า  มาสอนแทนอาจารย์จ๋า
อาจารย์เบียร์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม ... ให้เขียนแผน












ภาพกิจกรรมในการทำงานกลุ่ม ......













ค้นคว้าเพิ่มเติ่ม

ไข่เจียวเดี๋ยวเดียวก็...(หมด)




ไข่เจียวเดี๋ยวเดียวก็...(หมด) มหัศจรรย์ไข่เจียว
เก็บเกี่ยวกระบวนการเรียนรู้ของน้องหนูอนุบาล
 โดยคุณครูเยาวราช สิทธิภู่ประเสริฐ(ครูติ๊ก)

     เมื่อวันที่ ๑๗ ๒๑ มิ.ย. ที่ผ่านมา เด็กนักเรียนอนุบาล ๑ ต่างอิ่มอร่อยกับเมนูอาหารธรรมดาที่ไม่ธรรมดาอย่าง “ไข่เจียว” กับกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องร่างกายของเรา


     เด็กๆ ได้เรียนรู้ถึงส่วนประกอบของใบหน้า ทั้งจมูก ปาก ฟัน และลิ้น ซึ่งมีหน้าที่รับรส และรับกลิ่น จึงนำกิจกรรม cooking มาเป็นกิจกรรมนำสู่การเรียนรู้


ไข่เจียวเป็นเมนูอาหารที่ง่าย และเร็วมาก เรียกว่าถ้าหิวๆ ไม่เกิน ๑๐ นาทีก็ได้รับประทานแล้ว..


    เมื่อเข้าไปถึงห้อง ๑/๔ คุณครูอิ๋ว กำลังนำเด็กๆ ทำกิจกรรมเวียนน้ำ แต่สิ่งที่อยู่ในมือของครูอิ๋ว ซึ่งพร้อมจะส่งต่อให้เด็กเช้านี้ เป็น ไข่เด็กๆ ส่งต่อไข่ไปให้เพื่อนที่นั่งข้างๆ อย่างบรรจง การส่ง - รับไข่จึงเป็นไปด้วยความระมัดระวัง นอกจากนั้น เด็กๆ ยังพิจารณาไข่ที่ส่งมาถึงมือตนเองด้วยการมอง ลูบคลำ พลิกดูไปมา และ ดม









เด็กๆ คิดว่าไข่ที่เด็กๆ ได้สัมผัสนี้ เป็นไข่ของจริง หรือของปลอม?”
ไข่จริง(ครับ,ค่ะ)
แล้วเรียกว่าไข่อะไร?”
ไข่เป็ด!
ทราบได้อย่างไรคะว่าเป็นไข่เป็ด?”
เพราะเป็นสีขาวน้องปาร์แมน เด็กคนที่ตอบคำถามอย่างมั่นอก
มั่นใจ อธิบายให้คุณครูฟัง
ระหว่างที่กำลังสอบถาม โต้ตอบกันอยู่นั้น มีเสียงหนึ่งลอดมาว่า
มีไข่สีชมพูครูอิ๋ว จึงถามต่อว่าแล้วไข่สีชมพูเรียกว่าไข่อะไร?
น้องปันปัน ตอบอย่างฉะฉานว่า ไข่ม้า!
คุณครูอิ๋ว อธิบายเพิ่มเติมว่า เขาเรียก ไข่เยี่ยวม้า
ไข่ไดโนเสาร์เป็นสีเขียวน้องกัตจัง บอกสิ่งที่ตนเองทราบบ้าง และยังบอกต่ออีก
ว่า เพราะไดโนเสาร์เป็นสีเขียว




     คุณครูอิ๋ว นำไข่ชนิดต่างๆ มาให้เด็กดูพร้อมกับแสดงบัตรคำตรงกัน ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ทบทวนไปมาหลายครั้ง แล้วจึงชวนเด็กๆ เล่นเกมจับคู่บัตรคำกับไข่ชนิดต่างๆน้องเทมเทม จับคู่คำ กับไข่นกกระทา ได้ถูกต้อง ครูย้ำเพิ่มว่า ทราบได้อย่างไรว่าเป็นไข่นกกระทา น้องเทมเทมบอกครูว่ามี สระอาน้องมิ้ง จับคู่ ไข่ไก่ กับคำได้ และบอกว่า ไข่ไก่ มี ก.ไก่ น้อง คีตา บอกว่า ไข่เป็ดมี ป.ปลา น้องภัฏ ไข่เป็ดมี ด.เด็ก




     คุณครูใช้กิจกรรม เกม ให้เด็กได้เพลิดเพลินบูรณาการผ่านการเล่น เด็กๆ จึงได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ หลากหลาย ทั้งได้สัมผัสไข่ชนิดต่างๆ รู้จักชื่อ แชร์ความรู้เดิม รู้จักคำ รู้ค่าจำนวน และยังได้ลงมือตอกไข่ ตีไข่ ปรุงรส และเห็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อไข่ถูกนำไปเจียวในน้ำมันร้อนๆ กลิ่นที่ปะทะจมูกก่อนมื้ออาหารกลางวันเล็กน้อยทำให้เรียกน้ำย่อยได้ดีจริงๆ


     เมื่อเข้าไปสังเกตกิจกรรมเดียวกันที่ห้องเรียนอนุบาล ๑ ห้อง ๒ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน คุณครูอินกำลังหยิบขวดน้ำมันพืชส่งให้เด็กๆ ดมกลิ่น แล้วถามเด็กถึงกลิ่นที่ได้สัมผัส บางคนก็บอกว่า หอม บางคนก็บอกไม่ได้กลิ่น แต่พอเปลี่ยนเป็นขวดซอสปรุงรส เด็กๆ ได้กลิ่นชัดเจนขึ้น ก็จะบอกว่า หอม” สังเกตให้ดีเวลาที่เด็กส่ง และรับของเพื่อนข้างๆ ท่าทีจะค่อนข้างระมัดระวังไม่รีบร้อน ซึ่งก็เป็นทักษะทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝน


     เด็กๆได้แบ่งความรับผิดชอบในการเตรียม น้องปลื้มตอกไข่ใส่เครื่องปรุง น้องเดียว / น้องเชน ใส่ซอส น้องเดียวเห็นเพื่อนตีไข่ยังไม่แตกรวมกันจึงพูดว่า ต้องตีแรงๆ แบบเนี๊ยะ น้องเพลงจึงขอตีไข่อีกครั้ง ก่อนที่คุณครูอินจะนำไข่ (สามัคคี) เทในกระทะที่ใส่น้ำมันร้อนๆ


     วันรุ่งขึ้นก็เข้าไปอีกห้องเรียน อนุบาล ๑ ห้อง ๓ เด็กๆกำลังรับประทานอาหารกลางวัน เป็นเมนู ข้าวผัด และมีไข่เจียวเสริมให้เด็กๆ สังเกตเห็นว่า ไข่เจียวถูกเด็กๆ ตักเข้าปากรับประทานหมดก่อนใครเลย


ถึงคราวครูติ๊กที่แวะมาเยี่ยมชมห้องเรียนถามสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้บ้าง

เด็กๆ ใช้ไข่อะไรทำไข่เจียวคะ
ไข่ไก่เด็กๆ ช่วยกันตอบ
นอกจาก ไข่ไก่แล้วเด็กๆ รู้จักไข่อะไรอีก?”
ไข่นกกระทาน้องมิลันตอบ
ไข่นกกระทาฟองเท่านี้ใช่ไหม?”ครูถามพร้อม
ทำท่ากางมือออกสุดแขน
เด็กๆ ต่างหันมายิ้มบ้างหัวเราะบ้างแล้วตอบว่า
ไม่ช่ายยย…(ลากเสียงยาว) เท่านี้(พร้อมทำท่าเอานิ้วชี้และนิ้วโป้งเกือบชิดกัน)
ครูอยากทราบว่า เด็กๆ เจียวไข่ในอะไร?”
กระทะ
Yellow ! น้องเฟบเป้ตอบครูเสียงดังเมื่อครูถามคำถามว่า ภาษาอังกฤษของไข่เจียว ทำให้ครูอดยิ้มไม่ได้แล้วอธิบายต่อว่า “omelette” แปลว่าไข่เจียว






     เด็กๆต่างรับประทานไข่เจียวในจานของตนเองอย่างเอร็ดอร่อยร่วมกับอาหารกลางวันวันนี้นี่จึงเป็นที่มาของ ไข่เจียวเดี๋ยวเดียวก็หมดแทนเดี๋ยวเดียวก็ อร่อย จากการเข้าสังเกตจะเห็นว่า กิจกรรมของเด็กๆอนุบาลนั้นคุณครูสามารถจะสอดแทรกความรู้และทักษะต่างๆให้เด็กได้มากมาย แม้การทำไข่เจียว ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆแต่เด็กๆก็ได้ความรู้ทั้งเรื่องของชนิด จำนวน ตัวเลข คำ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะทางสังคมอีกด้วย 


สิ่งดีๆที่ได้จากการทำกิจกรรม cooking ไข่เจียว


     คุณครูสุชาวลี สุทธิศักดิ์ (ครูอ้น อนุบาล ๑/๑) บอกเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่เด็กๆจะได้ทำcooking ในวันนี้เด็กๆได้ทราบจากการบอกกล่าวมาก่อน คุณครูมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรม cooking มาจึงมีการเตรียมพร้อมกิจกรรม ทั้ง เครื่องปรุง วัสดุอุปกรณ์ และความปลอดภัยไว้ล่วงหน้า อย่างต้นหอม ผักแครอตหั่นฝอยก็มาเตรียมตอนเช้าใหม่ๆสดๆ การกันพื้นที่สำหรับให้สังเกตกิจกรรมให้พอสมควรที่เด็กๆจะมองเห็นกระทะเจียวไข่ร้อนๆ การเปลี่ยนแปลงของไข่ที่เกิดขึ้นในกระทะ และได้กลิ่น ครูอ้นจึงเลือกที่จะช่วยครูต่ายในฐานนี้


     คุณครูนริศรา รอดสม (ครูต่าย อนุบาล ๑/๑) ครูมีการพูดคุยตกลงในการทำกิจกรรมล่วงหน้าและเลือกที่จะสอนเด็กที่ฐานเจียวไข่ เพราะ ชอบทำกับข้าว ซึ่งมีการจัดแบ่งเด็กเป็นกลุ่ม โดยให้โอกาสเด็กเลือกเองและเพื่อให้มีความสมดุลกันในการแบ่งกลุ่ม ครูจะปรับสมาชิกเป็นบางครั้งเพื่อความเหมาะสม สังเกตว่าเด็กสองกลุ่มต่างกัน กลุ่มแรกมีผู้นำกลุ่มคอยเป็นสีสันในการตอบคำถามต่างๆ ส่วนกลุ่มที่สองนั้น เด็กค่อนข้างเล็กและไม่มีผู้นำในการตอบคำถามครูจึงต้องให้คำอธิบายมากกว่ากลุ่มแรกสักหน่อย








โดย : ส่วนสื่อสารองค์กร






ค้นคว้าเพิ่มเติม  >>> cooking มหัศจรรย์ไข่เจียว