by zalim-code.com

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3 ( 1 กรกฎาคม 2556 )


- อาจารย์จ๋าสอนเรื่อง วิทยาศาสตร์ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ 
ความหมาย
ความสำคัญ
แนวคิดพื่้นฐาน
พัฒนาการด้านสติปัญญา
ลำดับขั้นพัฒนาการ
การเรียนรู้
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

- ซึ่งนักเรียนทุกคนได้ร่วมกันตอบและทำ My mapping ในห้องเรื่องด้วยกันเป็นการสังเคราะห์ความรู้ที่มีอยู่เดิมกับความรู้ใหม่ที่อาจารย์ได้สอน

- สามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้จาก หนังสือ แนวทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

องค์ความรู้ที่ได้รับ



ได้ดูวิดิโอ เรื่องความลับของแสง 

เนื้อหา
จะเป็นการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอย่างง่ายและมีการทดลองให้ดู อธิบายโดยหมีจ๋าเนื้อเรื่องน่าสนใจและอธิบายได้เข้าใจง่าย
วิธีการนำเสนอ
นำเสนอโดยวิธีการทำให้เห็นหรือแสดงให้ดู ให้เราเห็นวิธีการทดลองและผลการทดลองเป็นอย่างไร เช่น การนำตุ๊กตาเข้าไปในกล่อง และเจาะรูข้างๆเมื่อส่องผ่านรูเราไม่เห็นตุ๊กตาในกล่องแต่เมื่อเปิดกล่องเราจะเห็นตุ๊กตาในกล่อง

ภาพการเรียนการสอน













ค้นคว้าเพิ่มเติม
                                                                                         แสงและการมองเห็น
ลำแสง
แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เดินทางในรูปคลื่นด้วยอัตราเร็วสูง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที แหล่งกำเนิดแสงมีทั้งแหล่งกำเนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น แสงดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต แหล่งกำเนินแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟ เป็นต้น
เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มควันหรือฝุ่นละออง จะเห็นเป็นลำแสงเส้นตรง และสามารถทะลุผ่านวัตถุได้ วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านเป็นเส้นตรงไปได้นั้น เราเรียกวัตถุนี้ว่า วัตถุโปร่งใส เช่น แก้ว อากาศ น้ำ เป็นต้น ถ้าแสงเคลื่อนที่ผ่านวัตถุบางชนิดแล้วเกิดการกระจายของแสงออกไป โดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรง เราเรียกวัตถุนั้นว่า วัตถุโปร่งแสง เช่น กระจกฝ้า กระดาษไข พลาสติกฝ้า เป็นต้น ส่วนวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านไปได้ เราเรียกว่า วัตถุทึบแสง เช่น ผนังคอนกรีต กระดาษแข็งหนาๆ เป็นต้น วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ทำให้เกิดเงาขึ้น
การสะท้อนของแสง (Reflection)
เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นค่าหนึ่งมายังตัวกลางที่มีค่าความหนาแน่นอีกตัวหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวเดิม เช่น การสะท้อนของแสงจากอากาศกับผิวหน้าของกระจกเงาจะเกิดการสะท้อนแสงที่ผิวหน้าของกระจกเงาราบแล้วกลับสู่อากาศดังเดิม เมื่อแสงตกกระทบกับผิวหน้าของตัวกลางใดๆ ปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสง จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของพื้นผิวหน้าของตัวกลางที่ตกกระทบ จากรูป เมื่อลำแสงขนานตกกระทบพื้นผิวหน้าวัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนเป็นลำแสงขนานเหมือนกับลำแสงที่ตกกระทบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ โดยเรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ

การสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบพื้นผิววัตถุที่เรียบ
เกิดขึ้นเมื่อลำแสงตกกระทบไปยังพื้นกระจกหรือพื้นผิวที่ขรุขระจะส่งผลให้แสงสะท้อนกลับไปคนละทิศละทาง


  •   รังสีตก กระทบ (Incident Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาพื้นผิวของวัตถุ
  •   รังสีสะท้อน (Reflected Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ
  •   เส้นปกติ (Normal) คือ เส้นที่ลากตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุตรงจุดที่แสงกระทบ
  •   มุมตกกระทบ (Angle of Incidence) คือ มุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นปกติ
  •   มุมสะท้อน (Angle of Reflection) คือ มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นปกติ

กฎการสะท้อนของแสง (The Laws of Reflection) มี 2 ข้อ ดังนี้
  • รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
  • มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ดังภาพ

วิดิโอเพิ่มเติม   >>>>>>>แสงคืออะไร


homework   

หาเศษวัสดุทำของเล่นสำหรับเด็กที่ทำได้ง่ายๆ และมีหลักการทางวิทยาศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น